Plastic Sea พลาสติกซี
พลาสติกซี
ศิลปิน: วิทยา จันมา
ภัณฑารักษ์: ดร.ให้แสง ชวนะลิขิกร
โครงการนี้อยู่ภายใต้ โครงการศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศิลปิน: วิทยา จันมา
ภัณฑารักษ์: ดร.ให้แสง ชวนะลิขิกร
โครงการนี้อยู่ภายใต้ โครงการศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Plastic Sea from witaya junma on Vimeo.
ในปี 2562 ประเทศไทยติดอันดับที่ 7 ของประเทศที่ปล่อยขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลก มากถึง 1 ล้านตัน กลายมาเป็นขยะในท้องทะเล 0.41 ล้านตัน
ขยะพลาสติกในทะเล 10 อันดับแรกเป็นพลาสติกที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น ขวดน้ำดื่ม, โฟม, ถุงพลาสติก, หลอด ฯลฯ
Plastic Sea คือ Interactive Installation ที่นำข้อมูลขยะพลาสติกในทะเลของประเทศไทยมาเปรียบเทียบปริมาณให้เห็นภาพด้วยแรงดึงดูดของน้ำ
โดยที่ผู้ชมจะเป็นคนเลือกชนิดของขยะพลาสติก แล้วใส่ลงไปในผลงานเพื่อรับรู้ถึงปริมาณของขยะพลาสติกชนิดต่างๆที่สะสมอยู่ในทะเลของประเทศไทยตั้งแต่ปี
2550 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
จากข้อมูลขยะที่แสดงผล อาจกระตุ้นให้ผู้ชมเองปฏิเสธไม่ได้ว่าตนเองมีส่วนร่วมทำให้มันเกิดขึ้นไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม
*ผลงานชุดนี้ใช้ฐานข้อมูลจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
วิทยา จันมา
“พลาสติกจะกลายเป็นส่วนประกอบหลักในตำรับอาหารลูกหลานของเรา”
อันโธนี่ ที ฮิกส์
เมื่อนึกถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม การปนเปื้อนของพลาสติกเป็นปัญหาลำดับต้นที่โลกใบนี้ประสบอยู่ ถึงแม้ว่าผู้คนตระหนักถึงปัญหาของการใช้พลาสติกมหาศาล แต่ไม่มีท่าที่ว่าปัญหาดังกล่าวจะถูกแก้ไขในอนาคตอันใกล้ ด้วยสังคมบริโภคนิยมที่พวกเราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ ทุก ๆ วัน ทุก ๆ เทคโนโลยีผ่านไปอย่างรวดเร็ว พลาสติกคือสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นและอยู่ในแทบทุกสิ่งที่เราจับต้อง จากแปรงสีฟัน ถึงเสื้อผ้า เครื่องใช้ในครัว อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แม้แต่ยาทาเล็บหรือกากเพชรในครีมบำรุงผิว และก็จริงอยู่ที่เมื่อคนคิดถึงขยะพลาสติกอาจจะไม่เห็นว่าเป็นปัญหาที่ร้ายแรงเนื่องจากสามารถรีไซเคิลได้ แต่ในความเป็นจริงอย่างที่ชาร์ลส เจ มัวร์ กล่าวไว้ว่า “สังคมใช้แล้วทิ้งไม่สามารถยับยั้งได้ มันถ้วนทั่วโลก เราไม่สามารถเก็บและรักษาหรือรีไซเคิลของเราทุกอย่างได้” การเดินทางของพลาสติกเป็นไปได้ว่าส่วนหรือจะถูกชะไปสู่ทะเล ชิ้นส่วนของพลาสติกกลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ จนเป็นไมโครพลาสติก กระจายอยู่ทั่วมหาสมุทร ผ่านสัตว์ ทะเล หรือน้ำสู่ร่างกายของเรา
ดร.ให้แสง ชวนะลิขิกร
อันโธนี่ ที ฮิกส์
เมื่อนึกถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม การปนเปื้อนของพลาสติกเป็นปัญหาลำดับต้นที่โลกใบนี้ประสบอยู่ ถึงแม้ว่าผู้คนตระหนักถึงปัญหาของการใช้พลาสติกมหาศาล แต่ไม่มีท่าที่ว่าปัญหาดังกล่าวจะถูกแก้ไขในอนาคตอันใกล้ ด้วยสังคมบริโภคนิยมที่พวกเราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ ทุก ๆ วัน ทุก ๆ เทคโนโลยีผ่านไปอย่างรวดเร็ว พลาสติกคือสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นและอยู่ในแทบทุกสิ่งที่เราจับต้อง จากแปรงสีฟัน ถึงเสื้อผ้า เครื่องใช้ในครัว อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แม้แต่ยาทาเล็บหรือกากเพชรในครีมบำรุงผิว และก็จริงอยู่ที่เมื่อคนคิดถึงขยะพลาสติกอาจจะไม่เห็นว่าเป็นปัญหาที่ร้ายแรงเนื่องจากสามารถรีไซเคิลได้ แต่ในความเป็นจริงอย่างที่ชาร์ลส เจ มัวร์ กล่าวไว้ว่า “สังคมใช้แล้วทิ้งไม่สามารถยับยั้งได้ มันถ้วนทั่วโลก เราไม่สามารถเก็บและรักษาหรือรีไซเคิลของเราทุกอย่างได้” การเดินทางของพลาสติกเป็นไปได้ว่าส่วนหรือจะถูกชะไปสู่ทะเล ชิ้นส่วนของพลาสติกกลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ จนเป็นไมโครพลาสติก กระจายอยู่ทั่วมหาสมุทร ผ่านสัตว์ ทะเล หรือน้ำสู่ร่างกายของเรา
ดร.ให้แสง ชวนะลิขิกร
ขยะพลาสติกในทะเล
ในปัจจุบัน ประมาณการกันว่าขยะพลาสติกในทะเล ราว 80% มีต้นกำเนิดมาจากบนแผ่นดิน และอีก 20% เกิดขึ้นจากกิจกรรมที่เกี่ยวกับทะเล โดยขยะพลาสติกถูกทิ้งลงสู่มหาสมุทรทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นปริมาณมากถึงปีละกว่า 10 ล้านตัน สำหรับประเทศไทยประมาณการกันว่ามีขยะพลาสติกไหลลงสู่ทะเลปีละมากกว่า 30,000 ตัน ขยะพลาสติกเหล่านี้กลายเป็นแพขยะในทะเลหรือล่องลอยทั่วมหาสมุทร ยกตัวอย่างเช่น ขวดน้ำพลาสติก ถุงพลาสติก แก้วพลาสติก หลอด กล่องพลาสติก อวนตกปลาเก่า เส้นเชือกขาด ตาข่ายดักปลา รวมถึงลังพลาสติก ตะกร้า และเศษพลาสติก
ในปัจจุบัน ประมาณการกันว่าขยะพลาสติกในทะเล ราว 80% มีต้นกำเนิดมาจากบนแผ่นดิน และอีก 20% เกิดขึ้นจากกิจกรรมที่เกี่ยวกับทะเล โดยขยะพลาสติกถูกทิ้งลงสู่มหาสมุทรทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นปริมาณมากถึงปีละกว่า 10 ล้านตัน สำหรับประเทศไทยประมาณการกันว่ามีขยะพลาสติกไหลลงสู่ทะเลปีละมากกว่า 30,000 ตัน ขยะพลาสติกเหล่านี้กลายเป็นแพขยะในทะเลหรือล่องลอยทั่วมหาสมุทร ยกตัวอย่างเช่น ขวดน้ำพลาสติก ถุงพลาสติก แก้วพลาสติก หลอด กล่องพลาสติก อวนตกปลาเก่า เส้นเชือกขาด ตาข่ายดักปลา รวมถึงลังพลาสติก ตะกร้า และเศษพลาสติก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการย่อยสลายโดยแสงแดดร่วมกับกระบวนการทางกายภาพต่าง ๆ ทำให้ขยะเหล่านี้มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ จนเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ซึ่งเรียกกันว่า ไมโครพลาสติก และยังคงเล็กลงเรื่อย ๆ จนถึงระดับไมครอนจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ซึ่งนอกจากชนิดของพลาสติกที่มีความหลากหลาย ขนาดที่เล็กมากจนสังเกตไม่เห็น ยากต่อการจัดเก็บ พลาสติกเหล่านี้ยังมีการปลดปล่อยสารต่าง ๆ ในเนื้อพลาสติกออกมา และยังเป็นตัวกลางดูดซับสารประกอบอินทรีย์สังเคราะห์ต่าง ๆ ที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศแหล่งน้ำ
กล่าวถึงผลกระทบของขยะพลาสติกและไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะระบบนิเวศแหล่งน้ำและทางทะเล พบว่าพลาสติกส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ขยะพลาสติกหรืออวนจากการทำประมงปกคลุมแนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเล และป่าชายเลน ระบบนิเวศเกิดความเสียหาย การถูกกินเข้าไปโดยสัตว์ต่าง ๆ สัตว์ขนาดใหญ่กินขยะพลาสติกขนาดใหญ่ สัตว์ขนาดเล็กกินขยะพลาสติกขนาดเล็ก สัตว์ที่เล็กจนตามองไม่เห็นกินไมโครพลาสติกที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เป็นต้นเหตุของการเจ็บป่วย และล้มตายของสัตว์ทะเลนานาชนิด และยังส่งผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากทัศนียภาพที่เสื่อมโทรม และเกิดการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกเข้าสู่อาหารที่มนุษย์ใช้บริโภค เราจะเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่และย้อนกลับเข้ามาทำร้ายมนุษย์จากการกระทำของมนุษย์เองทั้งสิ้น
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กล่าวถึงผลกระทบของขยะพลาสติกและไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะระบบนิเวศแหล่งน้ำและทางทะเล พบว่าพลาสติกส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ขยะพลาสติกหรืออวนจากการทำประมงปกคลุมแนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเล และป่าชายเลน ระบบนิเวศเกิดความเสียหาย การถูกกินเข้าไปโดยสัตว์ต่าง ๆ สัตว์ขนาดใหญ่กินขยะพลาสติกขนาดใหญ่ สัตว์ขนาดเล็กกินขยะพลาสติกขนาดเล็ก สัตว์ที่เล็กจนตามองไม่เห็นกินไมโครพลาสติกที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เป็นต้นเหตุของการเจ็บป่วย และล้มตายของสัตว์ทะเลนานาชนิด และยังส่งผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากทัศนียภาพที่เสื่อมโทรม และเกิดการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกเข้าสู่อาหารที่มนุษย์ใช้บริโภค เราจะเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่และย้อนกลับเข้ามาทำร้ายมนุษย์จากการกระทำของมนุษย์เองทั้งสิ้น
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Exhibitions
"Plastic Sea"exhibition at CU Art 4C, Faculty of Fine and Applied Art, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand
"Plastic Sea"exhibition at CU Art 4C, Faculty of Fine and Applied Art, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand